ไฮไลท์สถานที่ท่องเที่ยวสุดฮ็อตในปารีส
หอไอเฟล (Eiffel Tower หรือ La tour Eiffel)
สร้างด้วยเหล็กขึ้นเพื่อเป็นที่เปิดงาน World's Fair ของปี 1889 และตั้งชื่อตามผู้ออกแบบคือ Alexandre Gustave Eiffel ด้วยศิลปะของการออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์และชาญฉลาด การเป็นสิ่งปลูกสร้างที่สูงที่สุดในฝรั่งเศส และการเป็นอนุสาวรีย์ (แบบเสียค่าเข้าชม) ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในโลก ที่นี่จึงได้เป็นสัญลักษณ์สำคัญของประเทศฝรั่งเศส สำหรับผู้รักการถ่ายรูปทั้งหลาย คุณจะได้ฟินถ่ายรูปหนำใจแน่จากมุมทั้งด้านหน้าที่มีสวนและด้านหลังที่เป็นฝั่งแม่น้ำแซน (Seine River) เมื่อมาทั้งที ก็ขอให้ขึ้นไปชมทิวทัศน์อันน่าตื่นตาตื่นใจจากชั้นต่างๆ บนของหอนี้ด้วย โดยซื้อบัตรได้ที่บู้ธบริเวณฐานของหอไอเฟล (คิวยาวมากๆ) หรือเว็บออนไลน์
มหาวิหารนอเทรอดาม (Notre Dame Cathedral หรือ Notre Dame de Paris)
เป็นศาสนสถานนิกายคอทอลิกที่สำคัญของฝรั่งเศส เพราะเคยเป็นศูนย์กลางของเมืองในยุคกลาง (Medieval) จนถึงปัจจุบัน เป็นหนึ่งในมหาวิหารที่ใหญ่ที่สุดและเป็นที่รู้จักกันมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก สถาปัตยกรรมของมหาวิหารนี้ใช้ศิลปะที่ละเอียดอ่อนสไตล์กอธิก (Gothic) ใช้โครงสร้างที่เป็นไม้ และใช้วัสดุอื่นๆ อีก เช่น หิน ตะกั่ว และกระจกสี ภายในวิหารมีรูปปั้นและภาพจิตรกรรมที่สวยงามเกี่ยวกับพระแม่มารี และต้องขึ้นบันไดมากถึง 387 ขั้นเพื่อไปถึงยอดของโบสถ์ เรียกได้ว่า มหาวิหารนอเทรอดามแห่งนี้มีทั้งความงดงามและใหญ่โตหรูหรามากทีเดียว
แม่น้ำแซน (Seine River หรือ La Seine à Paris)
พลาดละถ้าคุณไม่ได้มาชมพระอาทิตย์ตกที่แม่น้ำแซน ซึ่งไหลผ่านสถานที่สำคัญและย่านสวยงามของกรุงปารีส ทั้งหอไอเฟิล มหาวิหารนอเทรอดาม แกรนด์พาเลส (Grand Palais) พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ พิพิธภัณฑ์ออร์เซย์ โบสถ์แซงต์ชาแปลล์ เป็นต้น เราขอแนะให้ล่องเรือยามใกล้ค่ำเพื่อที่จะได้ฟินกับการชมทิวทัศน์ของเมืองและสถาปัตยกรรมสวยงามยามต้องแสงอาทิตย์สีส้มและยามต้องแสงไฟในช่วงราตรี
ถนนฌ็องเซลิเซ่และประตูชัยนโปเลียน (Champs-Élysées & Arc de Triomphe)
ถนนฌ็องเซลิเซ่ได้รับขนานนามว่า ถนนที่สวยงามที่สุดในกรุงปารีส ซึ่งเริ่มต้นจาก Place de la Concorde เป็นที่ตั้งของพลาซ่าที่มีอนุสาวรีย์ยอดพีระมิดสไตล์อียิปต์ ผ่านกรองด์ปาเลส์ (Grand Palais) เปอตีปาเลส์ (Petit Palais) โรงละครรงปวง (Rond-Point) โรงละครมาริก์นี่ (Marigny) และย่านช้อปปิ้งสินค้าแฟชั่นแบรนด์เนม ถนนสายนี้ไปจรดที่ประตูชัยนโปเลียนหรือประตูชัยปารีส ฝรั่งเศส อนุสรณ์สถานสำหรับนโปเลียนและผู้ที่ต่อสู้และนำชัยชนะของสงครามปฏิวัติฝรั่งเศสและสงครามนโปเลียน เราสามารถขึ้นไปชมชั้นบนของประตูชัยได้ จากจุดสูงของประตูชัยนี้ คุณจะได้ชมและเก็บภาพถนนฌ็องเซลิเซ่และถนนสายอื่นๆ รวม 12 สายที่ทอดยาวมุ่งสู่ประตูชัยนี้
พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ (Louvre Museum หรือ Musé e du Louvre)
เดิมทีเคยเป็นพระราชวังหลวงก่อนที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 จะย้ายไปประทับที่พระราชวังแวร์ซายส์ ปัจจุบันลูฟร์ใช้เป็นสถานที่จัดแสดงและเก็บรักษาผลงานทางศิลปะที่ทรงคุณค่าระดับโลกจำนวนมาก รวมไปถึงภาพโมนาลิซ่า ศิลปะภาพวาดชิ้นเอกของโลกด้วย ไม่เพียงแต่ศิลปะภาพวาดและโบราณวัตถุฝรั่งเศสเท่านั้น แต่เราจะได้ยลภาพวาด รูปปั้น และวัตถุโบราณจากอียิปต์ กรีก โรมัน เอทรุสแกน (Etruscan กลุ่มชนอารยธรรมที่อยู่บริเวณตอนกลางของอิตาลี่) ตะวันออกกลาง และศิลปะของอิสลามอีกด้วย นับเป็นอีกหนึ่งสถานที่เที่ยวในปารีสที่ต้องไปเยือน เพราะมีทั้งสถาปัตยกรรมอันวิจิตรงดงามและเป็นพิพิธภัณฑ์ทางศิลปะที่มีชื่อเสียงที่สุด เก่าแก่ที่สุด และใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
โรงละครปาเลส์การ์นิเย่ (Palais Garnier)
เป็นโรงละครโอเปร่าแห่งชาติ ซึ่งสามารถจุคนได้ถึง 1,979 ที่นั่ง ชื่อนี้ใช้เรียกขานตามผู้สร้างชาร์ส การ์นิเย่ (Charles Garnier) ซึ่งได้ออกแบบได้อย่างวิจิตรตระกานตาและหรูหราอย่างยิ่ง และถูกจัดเป็นศิลปะชิ้นเอกด้านสถาปัตยกรรมโรงละครของศตวรรษที่ 19 ต่อมาได้เพิ่มให้มีห้องสมุดและสถานที่แสดงนิทรรศการโดยเฉพาะด้านศิลปะการแสดง และเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสถานที่สำคัญอื่นๆ ของโลก เช่น ห้องสมุดคองเกรสที่กรุงวอชิงตัน โรงละครฮานอยที่เวียดนาม โรงละครริโอเดอจาเนโรและโรงละคอะเมซอนที่บราซิล
โบสถ์แซงต์ชาแปลล์ (Sainte Chapelle)
เป็นโบสถ์ที่ใช้สำหรับสวดมนต์ของราชวงศ์โดยเฉพาะ ซึ่งใช้ศิลปะสไตล์กอธิคในช่วงยุคกลางและประดับด้วยกระจกสีสไตล์ศตวรรษที่ 13 ที่สวยงามมากมายจนเรียกได้ว่า เป็นสถานที่ที่มีคอลเล็คชั่นกระจกสีของศตวรรษนี้มากที่สุดเลยทีเดียว เนื่องจากเป็นโบสถ์ขนาดเล็ก แนะนำว่า ไปช่วงเช้าจะดีที่สุดเพราะยังมีนักท่องเที่ยวไม่เยอะและจะได้เที่ยวสบายๆ
ซาเคร-เกอร์ บาซิลิก้า (Sacré-Cœur Basilica หรือ Basilique du Sacré-Cœur)
ชื่อเต็มคือ The Basilica of the Sacred Heart of Paris หรือบาซิลิก้า หัวใจอันศักดิ์สิทธิ์ของปารีส ตั้งอยู่บนยอดของเนินเขามงต์มาร์ทร์ (Montmartre) อยู่ทางทิศเหนือของปารีส เป็นอนุสรณ์สถานที่อุทิศแด่ชาวฝรั่งเศสซึ่งเสียชีวิตจากสงครามกับเยอรมนี โดยใช้ศิลปะสไตล์โรมัน-ไบเซนไทน์และประกอบด้วยสวน น้ำพุ หอระฆัง และตัวอาคารที่มียอดเป็นลักษณะโดมและตกแต่งด้วยกระเบื้องโมเสก ที่โดมกลางซึ่งสูงที่สุดของอาคารนั้นเปิดให้เราขึ้นไปชมวิวปารีสแบบพาโนราม่าได้
พระราชวังลักเซมบูร์ก (Luxembourg Palace หรือ Palais du Luxembourg)
เดิมถูกสร้างเพื่อเป็นที่ประทับของพระนางมารี เมดิซี (Marie de Médicis) มารดาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 หลังจากการปฏิวัติฝรั่งเศส วังแห่งนี้ก็ได้รับการดัดแปลงให้เป็นอาคารรัฐสภา ส่วนทิศเหนือของตัววังก็ปรับให้เป็นที่พักของประธานสภาสูง อาคารทางทิศตะวันตกก็ทำเป็นพิพิธภัณฑ์ ทางทิศใต้ของวังเป็นสวนขนาดใหญ่อลังการ (10 ไร่) ประกอบด้วยสระน้ำ รูปปั้นของราชินีฝรั่งเศสและนักบุญต่างๆ ต้นไม้ ไม้ดอกและไม้ประดับที่จัดไว้อย่างสวยงามลงตัว มุมตะวันตกเฉียงใต้ของสวนนี้มีเวทีละครหุ่นท่ามกลางสวนแอ๊ปเปิ้ลและลูกแพร ใกล้ๆ กันนี้ มีศาลาพักผ่อน ซึ่งจะมีการแสดงดนตรีฟรี ร้านกาแฟ และร้านอาหารให้พักผ่อนหย่อนใจ ใครที่ชอบชมความงามทางศิลปะและจิบกาแฟผ่อนคลายในสวนสวย ที่นี่ใช่แน่
พิพิธภัณฑ์ออร์เซย์ (Orsay Museum หรือ Musée d'Orsay)
อีกพิพิธภัณฑ์หนึ่งที่จัดอยู่ในรายการต้องไปเยือน เพราะที่นี่รวบรวมศิลปะหลายแขนงของฝรั่งเศส ได้แก่ จิตรกรรม ปฏิมากรรม เฟอร์นิเจอร์ และภาพถ่าย ในปีค.ศ. 1848-1915 โดยมีคอลเล็คชั่นศิลปะชิ้นเอกของสมัยอิมเพรสชั่นนิสซึ่ม (Impressionism) และหลังสมัยอิมเพรสชั่นนิสซึ่ม (Post-impressionism) มากที่สุดในโลก ซึ่งรวมทั้งภาพวาดของศิลปินชื่อดังอย่าง Monet, Manet, Renoir และ Van Gogh นอกจากจะได้ชมศิลปะสวยๆ แล้ว บอกได้เลยว่า คุณจะได้เต็มอิ่มกับสถาปัตยกรรมอันสวยงามของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ซึ่งเดิมทีสร้างเพื่อเป็นสถานีรถไฟ
วันชาติฝรั่งเศสตรงกับวันที่ 14 กรกฎาคมของทุกปี ซึ่งถือเป็นวันแห่งการปฎิวัติการปกครองจากระบบเจ้าขุนมูลนายไปสู่การปกครองในระบอบสาธารณรัฐ โดยประชาชนทั่วทั้งประเทศได้ลุกฮือขึ้นต่อต้านการปกครองแบบยุกโบราณจนกระทั้งได้รับชัยชนะเป็นครั้งแรกจากบุกเข้าทลายคุกบาสติลที่เปรียบเสมือนเป็นสัญลักษณ์ของการกดขี่ประชาชน เมื่อ 209 ปีก่อนและนำไปสู่การล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้สำเร็จ โดยสมัชชาแห่งชาติได้กำหนดโครงสร้างกฏหมายฉบับใหม่ที่ยกเลิกการให้ความมีเอกสิทธิ์ ขจัดเรื่องสินบนและล้มเลิกระบบฟิวดัล(ระบบศักดินา) จากนั้นต่อมาจึงมีการจัดงานฉลองแห่งชาติขึ้นเรียกว่า “The Feast of the Federation” เนื่องในโอกาสครบรอบ 1 ปีของเหตุการณ์จลาจลที่กองกำลังแห่งชาติจากทั่วประเทศได้เดินทางรวมพลกันที่ “Champs-de-Mars” ในกรุงปารีส
แต่พอหลังจากนั้นการจัดงานฉลองเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ของวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2332 ก็ต้องหยุดไปเนื่องจากสถานการณ์ภายในประเทศยังคงไม่สงบเกิดสงครามปฏิวัติขึ้นหลายครั้งในช่วงระยะเวลาปี พ.ศ.2335-2345 และมาในสมัย “the Third Republic*”นี้เอง รัฐบาลจึงได้มีความคิดที่จะรื้อฟื้นการจัดงานเฉลิมฉลองวันชาติฝรั่งเศสขึ้นมาใหม่ โดยมีการผ่านร่างกฎหมายฉบับเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2423 ขึ้นมา ซึ่งกำหนดให้วันที่ 14 กรกฎาคม ของทุกปีเป็น “วันชาติฝรั่งเศส”และได้จัดงานเฉลิมฉลองครั้งแรกขึ้นในปีเดียวกันนั้น
ทั้งนี้งานจะเริ่มตั้งแต่ค่ำของวันที่ 13 โดยจะมีการแห่คบเพลิงและล่วงเข้าวันรุ่งขึ้นเมื่อระฆังตามโบสถ์วิหารต่าง ๆ หรือเสียงปืนดังขึ้นนั่นเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่างานฉลองได้เริ่มต้นขึ้นแล้วอย่างเป็นทางการ เริ่มจากริ้วขบวนการสวนสนามของเหล่าทัพ จากนั้นเมื่อถึงช่วงเวลากลางวันประชาชนจะร่วมฉลองด้วยการเต้นรำอย่างรื่นเริงสนุกสนานไปตามท้องถนนและมีการจัดเลี้ยงกันอย่างเอิกเกริกจนถึงเวลาค่ำ ซึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือการจุดพลและการละเล่นดอกไม้ไฟที่ถือประเพณีปฏิบัติจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นยังมีสิ่งสร้างความบันเทิงอื่น ๆ อีกมากมายที่จัดขึ้นทั่วประเทศทั้งการจัดการแข่งขันกีฬา การจัดนิทรรศการ งานแสดงสินค้า โดยไม่มีชาวฝรั่งเศสคนใดจะละเลยไม่นึกถึงและร่วมฉลองในวันสำคัญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศครั้งนี้
Allons enfants de la Patrie
Le jour de gloire est arrivé
Contre nous de la tyrannie
L'étendard sanglant est levé {2x}
Entendez vous dans les campagnes
Mugir ces féroces soldats
Ils viennent jusque dans vos bras,
Egorger vos fils, vos compagnes
{Refrain:}
Aux armes citoyens ! Formez vos bataillons !
Marchons, marchons,
Qu'un sang impur abreuve nos sillons
Que veut cette horde d'esclaves
De traîtres, de Rois conjurés ?
Pour qui ces ignobles entraves,
Ces fers dès longtemps préparés ? {2x}
Français ! pour nous, ah ! quel outrage !
Quels transports il doit exciter !
C'est nous qu'on ose méditer
De rendre à l'antique esclavage !
{au Refrain}
Quoi ! des cohortes étrangères
Feraient la loi dans nos foyers ?
Quoi ! ces phalanges mercenaires
Terrasseraient nos fiers guerriers {2x}
Grand Dieu ! par des mains enchaînées
Nos fronts sous le joug se ploieraient,
De vils despotes deviendraient
Les maîtres de nos destinées ?
{au Refrain}
Tremblez, tyrans ! et vous, perfides,
L'opprobe de tous les partis,
Tremblez ! vos projets parricides
Vont enfin recevoir leur prix {2x}.
Tout est soldat pour vous combattre,
S'ils tombent, nos jeunes héros,
La terre en produit de nouveaux
Contre vous tous prêts à se battre
{au Refrain}
Français ! en guerriers magnanimes
Portez ou retenez vos coups.
Epargnez ces tristes victimes
A regret s'armant contre nous {2x}.
Mais le despote sanguinaire,
Mais les complices de Bouillé,
Tous ces tigres qui sans pitié
Déchirent le sein de leur mère
{au Refrain}
Amour sacré de la Patrie
Conduis, soutiens nos bras vengeurs !
Liberté, Liberté chérie !
Combats avec tes défenseurs {2x}.
Sous nos drapeaux, que la victoire
Accoure à tes mâles accents,
Que tes ennemis expirant
Voient ton triomphe et notre gloire !
{au Refrain}
Nous entrerons dans la carrière,
Quand nos aînés n'y seront plus
Nous y trouverons leur poussière
Et les traces de leurs vertus. {2x}
Bien moins jaloux de leur survivre
Que de partager leur cercueil,
Nous aurons le sublime orgueil
De les venger ou de les suivre !
{au Refrain}
พระเจ้าหลุยที่ 14 หลุยส์-ดิเยอดอนเน(Louis-Dieudonné)
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 มีพระนามเดิมว่า หลุยส์-ดิเยอดอนเน (Louis-Dieudonné) สมัยประทับอยู่ที่พระราชวังแซงต์-แชร์แมง-ออง-เลย์ (วันที่ 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1638) ต่อมามีพระนามว่า เลอรัว-โซแลย (le Roi-Soleil) ซึ่งแปลว่า สุริยกษัตริย์ เริ่มใช้เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1715 เมื่อพระองค์ประทับที่แวร์ซายส์ (Versailles) และพระนามต่อมาคือ หลุยส์ เลอ กรองด์ (Louis le Grand) แปลว่าหลุยส์ผู้ยิ่งใหญ่ เริ่มใช้วันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1643 จนกระทั่งพระองค์สวรรคต พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศส แลพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 แห่งนาวาร์ พระองค์มีเชื้อสายทั้งราชวงศ์บูร์บงและราชวงศ์กาเปเตียง พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ครองราชย์เป็นเวลา 72 ปี จัดว่าเป็นผู้ที่ครองประเทศฝรั่งเศสนานที่สุด อีกทั้งยังเป็นพระมหากษัตริย์ในที่ครองราชย์นานที่สุดในยุโรปอีกด้วย
พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ไม่กี่เดือนก่อนวันครบรอบวันพระราชสมภพ ซึ่งจะมีพระชันษา 5 ปี แต่สมัยนั้น (ค.ศ. 1648 - ค.ศ. 1652) มีกบฏฟรองด์ (Fronde) ทำให้หน้าที่ของพระองค์มีอย่างเดียวคือ ควบคุมรัฐบาล เนื่องจากนายกรัฐมนตรี เลอ คาร์ดินาล มาซาแร็ง (le Cardinal Mazarin) หรือสังฆราชมาซาแร็ง เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1661 ออย่างไรก็ตามพระองค์ไม่แต่งตั้งผู้ใดขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีและประกาศว่า จะบริหารประเทศด้วยพระองค์เอง หลังจากคณะรัฐมนตรีของกอลแบรต์ (Colbert) ครบวาระ (หรือหมดอำนาจในการบริหารประเทศ) ในปี ค.ศ. 1683 และของลูวัร์ (คณะรัฐมนตรีของลูวัร์นี้ขึ้นตำแหน่งต่อจากลูแบร์) ครบวาระในปี ค.ศ. 1691
สมัยของพระองค์โดดเด่นในเรื่องโครงสร้างของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช (สิทธิกษัตริย์ = เทพที่มาจากสวรรค์) ประโยชน์ของพระราชอำนาจอันเด็ดขาดของพระองค์ทำให้ความวุ่นวายต่างๆหมดสิ้นไปจากฝรั่งเศส อาทิเช่นเรื่องขุนนางก่อกบฏ (สมัยพระเจ้าหลุยส์ 14 ไม่มีขุนนางผู้ไหนกล้าก่อกบฏ เพราะพระองค์มีพระราชอำจนาจเด็ดขาด) เรื่องการประท้วงของสภา เรื่องการจลาจลของพวกนิกายโปรแตสแตนท์และชาวนา ซึ่งเรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นในฝรั่งเศสมานานเป็นเวลามากกว่า 1 ทศวรรษแล้ว
ขณะที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศสเสด็จสวรรคต ขณะนั้นพระเจ้าหลุยส์ 14 มีพระชนมายุเพียง 5 ชันษา เนื่องจากพระองค์ยังทรงพระเยาว์มาก พระราชมารดาของพระองค์จึงทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทน โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ส่วนสังคราชมาซาแร็งเป็นผู้อุปถัมภ์พระเจ้าหลุยส์ ดิเยอดองเน ท่านรับผิดชอบด้านการศีกษาเพื่อที่จะให้พระเจ้าหลุยส์ขึ้นเป็นกษัตริย์ในอนาคต ซึ่งการศึกษานี้จะเน้นหนักไปด้านปฏิบัติ มากกว่าด้านความรู้ ซึ่งเป็นที่เข้าใจว่า สังฆราชมาซาแร็งใช้อำนาจโดยผ่านลูกอุปถัมภ์ของท่านเอง ซึ่งก็คือหลุยส์ดิเยอดองเน สังฆราชมาซาแร็งถ่ายทอดความชื่นชอบในด้านศิลปะให้หลุยส์ดิเยอดองเนและสอนความรู้พื้นฐานด้านการทหาร, การเมืองและการทูต อีกทั้ง สังฆราชผู้นี้ยังนำหลุยส์ดิเยอดองเนเข้าร่วมในสภาเมื่อปี ค.ศ. 1650
พระองค์ได้ทรงลดทอนอำนาจของชนชั้นสูงที่เชี่ยวชาญในการรบ ด้วยมีรับสั่งให้พวกเขาเหล่านั้นรับใช้พระองค์เช่นเดียวกับเหล่าสมาชิกในราชสำนัก อันเป็นการถ่ายโอนอำนาจมายังระบบธุรการแบบรวมศูนย์ และทำให้พวกเขาเหล่านั้นกลายเป็นชนชั้นสูงที่ใช้สติปัญญา พระองค์ทรงดำริให้สร้างพระราชวังแวร์ซายส์ ขึ้นในอุทยาน โดยมีการจัดสวนให้เป็นรูปทรงเรขาคณิต พระราชวังแวร์ซายที่มีขนาดใหญ่นี้ตั้งอยู่ห่างออกไปราว 15 กิโลเมตรทางตะวันตกของกรุงปารีส ที่เมืองแวร์ซาย ในเขตปริมณฑลของกรุงปารีส
พระราชวังแวร์ซาย(Château de Versailles)
ตัวเลข 1-100 ภาษาฝรั่งเศส
0 | zéro | [zay-ro] |
1 | un | [uh] |
2 | deux | [duhr] |
3 | trois | [twa] |
4 | quatre | [katr] |
5 | cinq | [sank] |
6 | six | [sees] |
7 | sept | [set] |
8 | huit | [weet] |
9 | neuf | [nurf] |
10 | dix | [dees] |
11 | onze | [onz] |
12 | douze | [dooz] |
13 | treize | [trez] |
14 | quatorze | [katorz] |
15 | quinze | [kanz] |
16 | seize | [sez] |
17 | dix-sept | [dee-set] |
18 | dix-huit | [dees-weet] |
19 | dix-neuf | [dees-nurf] |
20 | vingt | [van] |
21 | vingt et un | [vant-ay-uh] |
22 | vingt-deux | [van-duhr] |
23 | vingt-trois | [van-twa] |
24 | vingt-quatre | [van-katr] |
25 | vingt-cinq | [van-sank] |
26 | vingt-six | [van-sees] |
27 | vingt-sept | [van-set] |
28 | vingt-huit | [van-weet] |
29 | vingt-neuf | [van-nurf] |
30 | trente | [tront] |
31 | Trente et un | [tront ay-uh] |
32 | Trente-deux | [tront-durh) |
33 | Trente-trois | [tront-twa) |
34 | Trente-quatre | [tront-katr) |
35 | Trente-cinq | [tront-sank) |
36 | Trente-six | [tront-sees) |
37 | Trente-sept | [tront-set) |
38 | Trente-huit | [tront-weet) |
39 | Trente-neuf | [tront-nurf) |
40 | quarante | [karont] |
41 | quarante et un | [karont-ay-uh] |
42 | quarante-deux | [karont-deux] |
43 | quarante-trois | [karont-twa] |
44 | quarante-quatre | [karont-katr] |
45 | quarante-cinq | [karont-sank] |
46 | quarante-six | [karont-sees] |
47 | quarante-sept | [karont-set] |
48 | quarante-huit | [karont-weet] |
49 | quarante-neuf | [karont-nurf] |
50 | cinquante | [sank-ont] |
51 | cinquante et un | [sank-ont-ay-uh] |
52 | cinquante-deux | [sank-ont-deux] |
53 | cinquante-trois | [sank-ont-twa] |
54 | cinquante-quatre | [sank-ont-katr] |
55 | cinquante-cinq | [sank-ont-sank] |
56 | cinquante-six | [sank-ont-sees] |
57 | cinquante-sept | [sank-ont-set] |
58 | cinquante-huit | [sank-ont-weet] |
59 | cinquante-neuf | [sank-ont-nurf] |
60 | soixante | [swa-sont] |
61 | soixante et un | [swa-sont-ay-un] |
62 | soixante-deux | [swa-sont-dur] |
63 | soixante-trois | [swa-sont-twa] |
64 | soixante-quatre | [swa-sont-katr] |
65 | soixante-cinq | [swa-sont-sank] |
66 | soixante-six | [swa-sont-sees] |
67 | soixante-sept | [swa-sont-set] |
68 | soixante-huit | [swa-sont-weet] |
69 | soixante-neuf | [swa-sont-nurf] |
70 | soixante-dix | [swa-sont-dees] |
71 | soixante-et-onze | [swa-sont-ay-onz] |
72 | soixante-douze | [swa-sont-dooz] |
73 | soixante-treize | [swa-sont-trez] |
74 | soixante-quatorze | [swa-sont-katorz] |
75 | soixante-quinze | [swa-sont-kanz] |
76 | soixante-seize | [swa-sont-sez] |
77 | soixante-dix-sept | [swa-sont-dee-set] |
78 | soixante-dix-huit | [swa-sont-dees-weet] |
79 | soixante-dix-neuf | [swa-sont-dees-nurf] |
80 | quatre-vingts | [kat-ra-van] |
81 | quatre-vingt-un | [kat-ra-vant-uh] |
82 | quatre-vingt-deux | [kat-ra-van-dur] |
83 | quatre-vingt-trois | [kat-ra-van-twa] |
84 | quatre-vingt-quatre | [kat-ra-van-katr] |
85 | quatre-vingt-cinq | [kat-ra-van-sank] |
86 | quatre-vingt-six | [kat-ra-van-sees] |
87 | quatre-vingt-sept | [kat-ra-van-set] |
88 | quatre-vingt-huit | [kat-ra-van-weet] |
89 | quatre-vingt-neuf | [kat-ra-van-nurf] |
90 | quatre-vingt-dix | [kat-ra-van-dees] |
91 | quatre-vingt-onze | [kat-ra-van-onz] |
92 | quatre-vingt-douze | [kat-ra-van-dooz] |
93 | quatre-vingt-treize | [kat-ra-van- trez] |
94 | quatre-vingt-quatorze | [kat-ra-van-katorz] |
95 | quatre-vingt-quinze | [kat-ra-van- kanz] |
96 | quatre-vingt-seize | [kat-ra-van- sez] |
97 | quatre-vingt-dix-sept | [kat-ra-van- dee-set] |
98 | quatre-vingt-dix-huit | [kat-ra-van- dees-weet] |
99 | quatre-vingt-dix-neuf | [kat-ra-van- dees-nurf] |
100 | cent | [son] |
(https://www.youtube.com/watch?v=IgFJ6JV7lKY)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น